หมวดหมู่: การศึกษา

1AAA11


สอศ. ผลิตบัณฑิตปริญญาตรี สายเทคโนโลยี ป้อนอุตสาหกรรม 4.0 การันตีการมีงานทำ

    สถาบันการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 ระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (Bachelor of Technology) อักษรย่อ ทล.บ. จำนวน 3,337 คน จากสถานศึกษา 23 แห่ง ในวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

     ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ซึ่งการจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบทวิภาคี มีรูปแบบการเรียนร่วมกับสถานประกอบการชั้นนำที่ได้มาตรฐาน โดยใช้หลักสูตรที่แตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป นั่นคือ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (Bachelor of Technology) อักษรย่อ ทล.บ. ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาจะเป็นผู้ที่มีความรอบรู้มีสมรรถนะ ในการปฺฏิบัติ และพัฒนางานในระดับเทคโนโลยี สามารถปฏิบัติงาน

       และเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ หรือประกอบอาชีพอิสระ และพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ และมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม ในปี พ.ศ. 2562 เป็นครั้งที่ 3 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 ในวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยมีบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจำนวน 3,337 คน จากการศึกษาใน 8 ประเภทวิชา

      ได้แก่ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริหารธุรกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ศิลปกรรม คหกรรม เกษตรกรรม และประมง ซึ่งประกอบด้วย 25 สาขาวิชา ได้แก่ เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีแม่พิมพ์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยียาง เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีการก่อสร้าง เทคโนโลยีเครื่องกลเรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบัญชี การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการสำนักงาน การจัดการโลจิสติกส์ ดิจิตอลกราฟิก ออกแบบผลิตภัณฑ์ ช่างทองหลวง เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการการจัดการงานคหกรรม เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว

     และการโรงแรมเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อว่า จากสถิติการมีงานทำของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (Bachelor of Technology) พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557 - 2559 จำนวน 3,573 คน มีงานทำ 100 % ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3,229 คน มีงานทำ 98 % ส่วนปีการศึกษา 2561 อยู่ในระหว่างการสำรวจ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน เหตุที่มีสถิติของภาวการณ์มีงานทำอยู่ในอัตราที่สูงมาก เนื่องจากผู้เรียนกำลังปฏิบัติงานหรือทดลองงานอยู่ในหน่วยงานหรือสถานประกอบการนั้น ๆ โดยร่วมกันจัดการศึกษาระบบทวิภาคี เน้นการผลิตบัณฑิตสายปฏิบัติการที่ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน และสถานประกอบการ เมื่อจบการศึกษาทำให้มีสมรรถนะวิชาชีพระดับสูงขึ้น มีความรู้ ทักษะฝีมือ และความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ ส่งผลให้มีค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน และยกระดับการพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่อุตสาหกรรมในยุคไทยแลนด์ 4.0 

      ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีสถานศึกษาในสังกัด 421 แห่งทั่วประเทศ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ โดยจัดการเรียนการสอน 9 ประเภทวิชา มีสาขาวิชาให้เลือกเรียนมากกว่า 350 สาขาวิชา ทั้งนี้ ด้านการบริหารจัดการ มีศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาประจำภาค 5 ภาค ทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนางานทางด้านวิชาการ และอาชีวศึกษาจังหวัด 77 แห่ง และอาชีวศึกษาภาค 5 ภาค ทำหน้าที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการกลุ่มสถานศึกษาในระดับจังหวัด

สายใยอาชีพของเด็กอาชีวะ

      ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดเผยว่าเมื่อวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้รับทราบเรื่องราวดี ๆ ของเด็กอาชีวะคนหนึ่งที่กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง โดยนายกิตติพงค์ อุตตะมะเวทิน ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างระยองได้จัดโครงการสร้างผู้ประกอบการขนาดเล็ก และโครงการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นโดยชมรมวิชาการตลาดและชมรมวิชาชีพช่างกลโรงงานหรือที่เรียกว่าตลาดนัดอาร์พีซี เพื่อให้นัก เรียนนักศึกษาที่สนใจเปิดร้านขายของได้ฝึกการเป็นผู้ประกอบการ ฝึกการคิดต้นทุนกำไร ฝึกการพูดเชิงธุรกิจ ในการประกอบกิจการฝึกอาชีพ หลังจากทำพิธีเปิดโครงการแล้ว ได้เดินเยี่ยมชมร้านค้าที่นักเรียนนักศึกษาเปิดขายโดยมีร้านค้าทั้งหมด 15 ร้านและภายในงานได้พบเรื่องราวที่น่าประทับใจของนายณัฐวัฒน์กลิ่นดี หรือน้องริว นักเรียนแผนกวิชาช่างยนต์ จึงได้นำเรียนเลขาธิการถึงเรื่องราวของน้องริวกับการขายขนมครกช่วยคุณแม่ ซึ่งการมาเปิดร้านขายขนมครกในวันนี้คุณแม่ของน้องริว ได้ติดตามมาช่วยลูกชายขายขนมครกด้วยเพราะเป็นสูตรขนมครกเฉพาะของครอบครัวสืบทอดมาหลายรุ่น

      โดยมาช่วยลูกชายผสมแป้งและจัดขนมครกใส่กระทงให้ลูกค้า และคอยแนะนำลูกชายทุกขั้นตอน ถ้อยคำที่ไพเราะ ท่าทีที่อ่อนโยนของแม่ที่มีต่อลูกและเพื่อนของลูก เป็นเรื่องราวเล็ก ๆ ที่มองยามใดก็รู้สึกอบอุ่นหัวใจทุกครั้ง ความรักความห่วงใยที่มีต่อกันของน้อง ริวและคุณแม่ สร้างความซาบซึ้งต่อผู้พบเห็น โดยคุณแม่ได้บอกกับผู้อำนวยการว่า น้องริวจะช่วยขายขนมครกตลอดตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเฉพาะช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระได้มากทำให้แม่มีเวลาทำงานบ้านอย่างอื่นมากขึ้น หลังจากต้องเปิดร้านทุกวัน ส่วนน้องริวก็บอกว่าอยากช่วยแม่หาเงินเป็นค่าใช้จ่ายของครอบครัว

      และอยากให้เพื่อนๆได้ลองชิมสูตรขนมครกที่เป็นสูตรของคุณแม่ทำมานานกว่า 16 ปี อีกทั้งการขายขนมครกยังเป็นอาชีพหลักของครอบครัวด้วยนอกจากขายวันเสาร์ อาทิตย์แล้วก็เลยเลือกนำมาขายที่ตลาดนัดอาร์พีซีนี้เพื่อเป็นการขยายตลาดและอยากให้คุณครูและเพื่อนๆ ได้ทานขนมครกสูตรโบราณดั้งเดิม อีกทั้งอยากให้เพื่อนๆ เกิดความรัก ความศรัทธาในการมีอาชีพ อีกทั้งเป็นอาชีพที่ทำให้คนในครอบครัวได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ได้แบ่งเบาภาระของคุณแม่ ส่วนคุณแม่นุชจรี ก็มีความภาคภูมิใจ ชื่นใจในตัวลูกอย่างมาก เพราะลูกทำให้แม่ได้มีวันแม่ทุกวัน ด้วยการช่วยเหลือแม่ทำมาหากิน และเชื่อฟังคำสั่งสอนของแม่มาตลอด

       ต่อไปแม้ว่าลูกจะประกอบอาชีพด้านช่างยนต์ตามที่เรียนมา ก็จะยังไม่ทิ้งอาชีพเดิม ส่วนน้องริวก็ยืนยันว่า ถึงมีงานทำแล้วแต่วันหยุดก็จะช่วยแม่ขายขนมครกต่อไป

      ดร.บุญรักษ์กล่าวปิดท้ายว่า การมีอาชีพของเด็กอาชีวะนั้นมีได้ทั้งอาชีพที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนตามหลักสูตร และอาชีพดั้งเดิมของครอบครัว ซึ่งสามารถนำหลักคิดในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของอาชีพมาต่อยอดบูรณาการผสมผสานให้เกิดผลดีได้ทุกอาชีพและยังเป็นการฝึกให้นักศึกษาอาชีวะมีความอดทนมีความรับผิดชอบเป็นกำลังสำคัญที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!