หมวดหมู่: สำนักนายกฯ

ดาวอส


ดาวอส ไทยแลนด์โดดเด่น ชี้ประเทศไทยมีอะไรที่โลกสนใจอีกมาก

เตรียมปิดฉากประชุม ดาวอส ไทยแลนด์โดดเด่น ชี้ประเทศไทยมีอะไรที่โลกสนใจอีกมาก ขณะที่นายกรัฐมนตรีย้ำบทบาทของไทยในเวทีโลก

พร้อมเปิดรับการลงทุนสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยจุดแข็งด้านเกษตรกรรม Soft Power และอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและการค้าเสรี เร่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าที่เสรี เปิดกว้าง และยั่งยืน ชี้ประชุมดาวอส ประเทศไทยได้อะไรมากกว่า

วานนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2568) เวลา 15.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นเมืองดาวอส ตรงกับเวลาประเทศไทยประมาณ 22:00 น.) ณ ห้อง Jakobshorn ศูนย์ประชุม Davos Congress Center เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำเสนอวิสัยทัศน์และนโยบายของประเทศไทยต่อผู้บริหารจากภาคเอกชน และร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ในกิจกรรม Country Strategy Dialogue (CSD) on Thailand ในห้วงของการประชุม World Economic Forum ประจำปี ค.ศ. 2025 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณที่ได้รับเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาที่ประชุมสำคัญของโลกที่ดาวอสเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นเสมือนการประชุมสุดยอดของผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดของโลก และการร่วมกิจกรรมในวันนี้นับเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เน้นย้ำให้ทราบถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งมีจุดเด่น ที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาค

และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ในภูมิภาค ประเทศไทย มีโครงสร้างพื้นฐานและนิคมอุตสาหกรรมระดับโลก และขอยืนยันว่า ในยุคแห่งปัญญาและนวัตกรรมนี้ โลกจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ เพื่อสร้างอนาคตที่เหมาะสมเพื่อทุกคน ซึ่งประเทศไทยกำลังเดินหน้าไปสู่การใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมจุดแข็งของประเทศไทย 3 ประการ ดังนี้

ประการแรก ในด้านเกษตรกรรมและอาหารประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะประเทศที่มีทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก ได้รับการขนานนามว่าเป็น'ครัวโลก' โดยรัฐบาลกำลังเดินหน้าเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยี สมัยใหม่ ผ่านการใช้ AI หุ่นยนต์ และการเกษตรแบบแม่นยำ เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ลดของเสีย เพิ่มผลผลิตให้ได้สูงที่สุด

และเพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรรมไทยจะมีความยืดหยุ่น ยั่งยืน และพร้อมสำหรับอนาคต นอกจากนี้ รัฐบาลยังขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านอาหาร เพื่อช่วยให้ร้านอาหารของไทยได้สร้างสรรค์เมนูที่ไม่เพียงอร่อย แต่ยังมีความยั่งยืนและคำนึงถึงสุขภาพ

ประการที่สอง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของไทยซึ่งเปรียบเสมือน Soft Power ที่สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและสร้างสีสันให้กับสังคม อาทิการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทาง ของโลกแห่งการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

ด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่มั่งคั่งและธรรมชาติที่งดงาม โดยประเทศไทยวางตำแหน่งตัวเองให้เป็น 'จุดหมายปลายทางสำหรับการผ่อนคลายความเครียด' ซึ่งทุกคนทั่วโลกสามารถมาท่องเที่ยวเพื่อสร้างความทรงจำและเติมพลังให้ตนเอง 

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากการท่องเที่ยว ประเทศไทยยังมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก และมีส่วนสำคัญต่อ GDP และการจ้างงานของประเทศไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ประการที่สาม อุตสาหกรรมขั้นสูงที่มีความยั่งยืน โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับวาระโลกสีเขียว ผ่านการส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการขับเคลื่อนการลงทุนสีเขียวและการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาใช้ พร้อมทั้งลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นสูงที่จะกำหนดอนาคตของประเทศไทย เช่น การสร้างระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าที่ครอบคลุม

และการเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลผ่าน data center รวมถึงยังได้กำหนดเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างน้อย 50% ภายในปี 2040 โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล

โอกาสนี้ นายกัฐมนตรียังกล่าวถึงการส่งเสริมปัจจัย 3 ประการ เพิ่มศักยภาพจุดแข็งของไทยให้ได้สูงสุด ดังนี้

ประการแรก การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่ 2 ปัจจัยหลัก คือ 1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านการขยายโครงสร้างพื้นฐานและบริการดิจิทัล พัฒนาฟินเทค และเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ สร้างสรรค์นวัตกรรมและแข่งขันในระดับโลก รวมทั้งดึงดูดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น บริการคลาวด์ ศูนย์ข้อมูล และเซมิคอนดักเตอร์ 2) พัฒนาประชาชน โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผ่านโครงการเสริมทักษะและยกระดับทักษะ

ประการที่สอง การส่งเสริมการค้าและความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลมุ่งหวังที่จะบรรลุมาตรฐานสากลในหลายๆ ด้าน ควบคู่กับการคงไว้ของ การทูตแบบสยาม อันเป็นเอกลักษณ์ของไทย ผ่านการรักษาสมดุลในการดำเนินความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ

โดยไทยได้สมัครเข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานด้านต่าง ๆของไทย พร้อมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงและเดินหน้าไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

นายกรัฐมนตรี ยังเชื่อมั่นในระบบพหุภาคีที่มีพื้นฐานจากกฎเกณฑ์ และการเสริมสร้างสร้างสภาวะแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เสรี เปิดกว้าง ครอบคลุม และคาดการณ์ได้ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการจูงใจ ปรับปรุงกฎระเบียบ และบรรลุความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศ/ดินแดนต่างๆ รวมถึงความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ที่ได้ลงนามไปแล้วเมื่อช่วงเช้า ซึ่งเป็นฉบับแรกที่ประเทศไทยลงนามกับประเทศในยุโรป

และเป็นฉบับแรกที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศในกลุ่ม EFTA ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้เข้าถึงผู้บริโภค 650 ล้านคนในอาเซียนและ 2.3 พันล้านคนใน RCEP ปีนี้ไทยยังตั้งเป้าที่จะเร่งการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับพันธมิตรอื่นๆ อีกหลายประเทศ/ดินแดนด้วย รวมทั้งสหภาพยุโรปและเกาหลีใต้

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีขอให้ร่วมกันส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน รวมถึงมุ่งหวังที่จะเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน และไทยจะยังคงเป็นสะพานเชื่อมเพื่อลดความแตกต่างและเพิ่มผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีหวังว่า ทุกคนที่มาร่วมฟังครั้งนี้จะมีความเข้าใจประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านคุณค่า จุดแข็ง และวิสัยทัศน์ของไทยที่จะก้าวไปข้างหน้าในฐานะประเทศที่พร้อมจะสร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

โอกาสนี้ นายกรัฐมตรียังเน้นย้ำต่อเวทีการหารือครั้งนี้ว่า “ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่มีความมุ่งมั่น และมีความพร้อมอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า” และขอให้ทุกคนร่วมกันสร้างโลกแห่งโอกาส สันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองสำหรับทุกคน

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!