ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (Communique) สำหรับการประชุม Global Forum for Food and Agriculture (GFFA) ครั้งที่ 17 และการประชุม Berlin Agriculture Ministers’ Conference ครั้งที่ 17
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ (2025 Zero Draft Communique) ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรเบอร์ลิน (Berlin Agriculture Ministers Conference) ครั้งที่ 17 รวมทั้งอนุมัติในหลักการว่า หากมีความจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าว ในประเด็น ที่ไม่ใช่สาระสําคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถดําเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทนร่วมรับรองเอกสารดังกล่าว โดยไม่มีการลงนาม ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญ
ร่างเอกสารแถลงการณ์นี้มีเนื้อหาสําคัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างเศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืนเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจโลกไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีความยั่งยืน ยืดหยุ่น และครอบคลุม รวมทั้งแก้ไขปัญหาความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความขัดแย้งทั่วโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (The Sustainable Development Goals: SDGs) ภายในปี 2573 โดยร่างดังกล่าวให้ความสําคัญของการดําเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่
1. การผลิตชีวมวลอย่างยั่งยืน – การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการผลิตชีวมวลอย่างยั่งยืนให้มากยิ่งขึ้นในภาคการเกษตร ป่าไม้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการประมง
2. การใช้ชีวมวลอย่างยั่งยืน – การสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก เพื่อส่งเสริม เศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืนและหมุนเวียน ตระหนักถึงความจําเป็นในการลดการใช้ทรัพยากรโดยรวม ส่งเสริม แหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่และแบบดั้งเดิมจากพืชและสัตว์ รวมทั้งสนับสนุนการลดขยะอาหารและการสูญเสีย อาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตและอุปทานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG 12.3 (ลดของเสียอาหารและลดการสูญเสียอาหาร)
3. การเสริมสร้างนวัตกรรม - การส่งเสริมการสื่อสาร สนับสนุนการวิจัย นวัตกรรม การฝึกอบรม และการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืน ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อให้ เศรษฐกิจชีวภาพเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วและสร้างโอกาสในการเติบโต ปรับใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่มีความโปร่งใส เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันที่มีความเท่าเทียมกัน ให้ความสําคัญกับความรู้ของชนพื้นเมืองในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความยืดหยุ่นที่ยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี
4. สร้างกรอบการทํางานที่เป็นธรรม ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลมีประสิทธิภาพและครอบคลุม เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศให้เกิดความเข้มแข็ง ส่งเสริมการริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก ส่งเสริมห่วงโซ่คุณค่าสําหรับผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจ ชีวภาพที่ครอบคลุมและยั่งยืน ส่งเสริมการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเสริมสร้างการดําเนินการด้านสิทธิ์ในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 13 มกราคม 2568
1248