หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร1


มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 13 มกราคม 2568

การแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับสภาความร่วมมือชาอุดี –ไทย (Saudi - Thai Coordination Council: STCC)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับสภาความร่วมมือชาอุดี –ไทย (Saudi - Thai Coordination Council: STCC) ดังนี้ 

          1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่ง ประธานสภาความร่วมมือซาอุดี – ไทย (ฝ่ายไทย) 

          2. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านการเมืองและการกงสุล (ฝ่ายไทย) 

          3. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านความมั่นคงและการทหาร (ฝ่ายไทย) 

          4. ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (ฝ่ายไทย) 

          5. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการทางเศรษฐกิจและการค้า (ฝ่ายไทย) 

          6. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการด้านการลงทุน (ฝ่ายไทย) 

          7. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ตำแหน่ง ประธานคณะทำงานฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือฯ

          หน้าที่และอำนาจ

          1. สภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย

              1.1 จัดการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย

              1.2 กำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ใน 5 สาขา ได้แก่ 1) การเมืองและการกงสุล 2) ความมั่นคงและการทหาร 3) วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 4) เศรษฐกิจและการค้า และ 5) การลงทุนให้เป็นรูปธรรม

              1.3 ตัดสินใจในประเด็นทั้งปวงที่เสนอโดยคณะกรรมการและฝ่ายเลขานุการ ภายใต้สภาความร่วมมือชาอุดี - ไทย

          2. คณะกรรมการภายใต้สภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย

              2.1 ให้อำนาจประธานคณะกรรมการในแต่ละสาขา แต่งตั้งสมาชิกคณะกรรมการ ตลอดจน แต่งตั้งตั้งประธานคณะทำงาน (Working Team) และสมาชิกคณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการฯ ได้ หากมีความจำเป็น

              2.2 จัดการประชุมคณะกรรมการ และเสนอผลลัพธ์การประชุมให้ฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือฯ พิจารณาเสนอต่อที่ประชุมสภาความร่วมมือฯ

              2.3 ติดตามและรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการให้ฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือฯ ทราบ

              2.4 ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาความร่วมมือซาอุดี – ไทย

          3. ฝ่ายเลขานุการสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย

              3.1 ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการให้แก่สภาความร่วมมือชาอุดี - ไทย

              3.2 ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

              3.3 ติดตามผลการดำเนินการตามข้อตัดสินใจของสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย

              3.4 ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาความร่วมมือชาอุดี – ไทย

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

 

การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงอุตสาหกรรม)

              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายวชิระ ไม้แพ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรเชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

การแต่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสมศักดิ์ ศิริวนารังสรรค์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ 

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ที่พ้นจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2567 และผู้ที่พ้นจากราชการเนื่องจากเกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 จำนวน 2 ราย ดังนี้

              1. แต่งตั้ง นางชื่นชีวัน ลิมป์ธีระกุล ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ 3 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี 

              2. แต่งตั้ง นายนพพร บุญแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) ตำแหน่งเลขที่ 5 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

              คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายราเชน ศิลปะรายะ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง (เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมลาออกจากราชการ) 

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย 

              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. ศาสตราจารย์พิเศษกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ประธานกรรมการ 2. นายวิจารย์ สิมาฉายา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

 

แต่งตั้งโฆษกกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายการเมือง 

              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ แต่งตั้งโฆษกกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย 1) นายอับดุลเราะมัน มอลอ และ 2) นางสาวศรินทร เลืองวัฒนะวณิช 

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

 

คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงพาณิชย์) 

              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 4 คณะ ดังนี้ 

              1. คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมการค้าพืชไร่ ผู้แทนสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ที่ได้รับมอบหมาย และผู้แทนกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. เสนอกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทนต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การบริหารสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ครอบคลุมครบถ้วนทั้งระบบ รวมถึงการบริหารจัดการมาตรการในการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน

              2. อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

              3. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

              4. พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการค้าและผู้ส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้การบริหารข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

              5. ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และโครงการที่ได้รับอนุมัติ

              6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการด้านการผลิต การตลาด และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

              7. เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมฯ 

              2. คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย ผู้แทนสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ผู้แทนสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้แทนสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังไทย ผู้แทนสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ผู้แทนสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย และผู้แทนกรมการค้าภายในที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม) 

              1. เสนอกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับสินค้ามันสำปะหลังต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การบริหารจัดการสินค้ามันสำปะหลังสอดคล้องกันทั้งระบบ และมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

              2. อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง

              3. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน และส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

              4. พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูป และผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพื่อให้การบริหารจัดการมันสำปะหลังทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

              5. ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และโครงการที่ได้รับอนุมัติ

              6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการด้านการผลิต การตลาดและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมันสำปะหลัง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

              7. เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ 

              3. คณะกรรมการว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (Duty free Quota Free Scheme: DFQF) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รองประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. กำกับดูแลโครงการ DFQF ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการภายในประเทศ

              2. พิจารณาทบทวนรายการสินค้าที่จะให้สิทธิพิเศษภายใต้โครงการ DFQF ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ

              3. พิจารณาการระงับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการ DFQF เป็นรายประเทศหรือเฉพาะรายการสินค้าตามคำแนะนำของคณะอนุกรรมการป้องกันผลกระทบอันเนื่องมาจากการให้สิทธิพิเศษภายใต้โครงการ DFQF

              4. แจ้งผลการพิจารณาการระงับสิทธิพิเศษตามข้อ 3 แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

              5. ดำเนินการทบทวนโครงการ DFQF (Midterm Review) อย่างน้อยทุก 3 ปี

              6. เชิญส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูลข้อคิดเห็น ส่งเอกสารหลักฐาน รายงานผลการดำเนินงาน หรือให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตามที่ได้รับการร้องขอ

              7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการดำเนินการของคณะกรรมการตามความจำเป็นและเหมาะสม

              8. เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาทบทวนและต่ออายุโครงการ DFQF เมื่อครบตามระยะเวลาดำเนินโครงการที่กำหนดไว้

              4. คณะกรรมการนโยบายอาหาร (คงเดิมทุกตำแหน่ง) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

              หน้าที่และอำนาจ

              1. กำหนดนโยบายและมาตรการในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 2 ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลืองและปลาป่น

              2. ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดคณะอนุกรรมการและคณะทำงานอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

 

คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงสาธารณสุข) 

              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง คณะกรรมการต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 9 คณะ ดังนี้

              1. คณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ ประกอบด้วย สมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน กรรมการมีดังนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้แทน เลขาธิการสภากาชาดไทย หรือผู้แทน อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือผู้แทน อธิบดีกรมสุขภาพจิต หรือผู้แทน อธิบดีกรมการค้าภายใน หรือผู้แทน อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ หรือผู้แทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือผู้แทน อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน หรือผู้แทน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือผู้แทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม หรือผู้แทน ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน หรือผู้แทน ประธานชมรมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน หรือผู้แทน ศาสตราจารย์เกียรติคุณรัชตะ รัชตะนาวิน ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ รองศาสตราจารย์พิชิต สุวรรณประกร นางแสงโสม สีนะวัฒน์ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมอนามัย และผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. กำหนดนโยบายระดับชาติในการดำเนินงานของโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ทุกโครงการ

              2. อำนวยการ ประสานงาน ควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานในโครงการควบคุมโรคขาดสารโอดีนทุกโครงการ

              3. พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ คณะอนุกรรมการอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือการดำเนินงานให้โครงการมีความคล่องตัว มีเอกภาพ และประสิทธิภาพ

              2. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด้านบริหาร เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการ ก.พ. หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือผู้แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หรือผู้แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือผู้แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หรือผู้แทน คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือผู้แทน คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือผู้แทน เลขาธิการแพทยสภา หรือผู้แทน ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน โดยมีผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม สนับสนุน การผลิต พัฒนาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม รองผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย และหัวหน้ากลุ่มสรรหาบุคคลกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการการจัดสรรนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาแพทย์เมื่อสำเร็จการศึกษาต้องไปปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานตามสัญญา

              2. พิจารณากำหนด และปรับปรุงระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และสัญญาเกี่ยวกับการเข้ารับการศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์

              3. เป็นหน่วยกลางในการควบคุม ติดตามให้นักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญา ฯ เข้าปฏิบัติงานที่ส่วนราชการ/หน่วยงานตามสัญญา

              4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย และให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานได้

              3. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการ ก.พ. หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือผู้แทน คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้แทน คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือผู้แทน คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือผู้แทน คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือผู้แทน คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือผู้แทนเลขาธิการทันตแพทยสภา หรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน โดยมีผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน เป็นกรรมการและเลขานุการ รองผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับมอบหมาย ผู้แทนสายงานทันตแพทย์ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหัวหน้ากลุ่มงานสรรหาบุคคล กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการการจัดสรรนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ เมื่อสำเร็จการศึกษาต้องไปปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานตามสัญญา

              2. พิจารณากำหนด และปรับปรุง ระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และสัญญาเกี่ยวกับการเข้ารับการศึกษาวิชาทันตแพทยศาสตร์

              3. เป็นหน่วยกลางในการควบคุม ติดตามให้นักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาฯ เข้าปฏิบัติงานที่ส่วนราชการ/หน่วยงานตามสัญญา

              4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย และให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานได้

              4. คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทน เลขาธิการ ก.พ. หรือผู้แทน หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทนคณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร หรือผู้แทน คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ หรือผู้แทน คณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้แทน คณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือผู้แทน คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือผู้แทน คณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หรือผู้แทน เลขาธิการสภาเภสัชกรรม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน โดยมีผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองผู้อำนวยการ กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับมอบหมาย ผู้แทนสายงานเภสัชกร กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้างานสรรหาบุคคล กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1.กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการการจัดสรรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ เมื่อสำเร็จการศึกษาต้องไปปฏิบัติงานในส่วนราชการ/หน่วยงานตามสัญญา

              2. พิจารณากำหนด และปรับปรุง ระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และสัญญาเกี่ยวกับการเข้ารับการศึกษาวิชาเภสัชศาสตร์

              3. เป็นหน่วยกลางในการควบคุม ติดตามให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ผู้ทำสัญญาฯ เข้าปฏิบัติงานที่ส่วนราชการ/หน่วยงานตามสัญญา

              4.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย และให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานได้

              5. คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประธาน ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสภาการพยาบาล ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา ผู้อำนวยการสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน โดยมีอธิบดีกรมอนามัย เป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมอนามัย ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 1 ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 2

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. กำหนดกรอบทิศทางการดำเนินงานพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยเน้นการเชื่อมประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นธรรม

              2. พิจารณาให้ความเห็นชอบ/ให้ข้อเสนอแนะต่อแผนการดำเนินงานภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2569) ว่าด้วยการสร้างเสริมการเกิดและการเติบโตอย่างมีคุณภาพ

              3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานได้ตามความเหมาะสม

              4. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง

              6. คณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Wellness and Medical Service Hub) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการร่วม กรรมการมีดังนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการร่วม

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

              2. มอบหมาย สั่งการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ

              3. สร้างกลไกและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ

              4. ติดตาม ควบคุม กำกับ เฝ้าระวัง ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ กำหนดมาตรการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ

              5. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาล

              6. รายงานผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะๆ

              7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานชุดย่อยได้ตามความเหมาะสม

              8. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่รัฐบาลมอบหมาย

              7. คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกรุงเทพมหานคร อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นายกแพทยสภา นายกทันตแพทยสภา นายกสัตวแพทยสภา นายกสภาเภสัชกรรม นายกสภาการพยาบาล นายกสภาเทคนิคการแพทย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน นายกสมาพันธ์พัฒนาคุณภาพร้านยาแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบยา นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านยุทธศาสตร์ นายวิษณุ ธรรมลิขิตกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบาดวิทยา รองศาสตราจารย์กำธร มาลาธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ นายวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข นายจิรวุสฐ์ สุขพึ่งได้ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ศาสตราจารย์กิตติคุณเจนนุช ว่องธวัชชัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพสัตว์ นางสาวพรพิมล อธิปัญญาคม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตร นายจงรักษ์ ผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาสังคม โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมประมง และอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม

              มีหน้าที่และอำนาจ

              1. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติในการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

              2. กำกับ เร่งรัด และติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ รวมทั้งกำหนดนโยบายการติดตามและประเมินผลที่มีความต่อเนื่อง

              3. อำนวยการจัดระบบและกลไกการประสานงาน รวมทั้งการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สมาคมวิชาชีพ และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ

              4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น ความเหมาะสม รวมทั้งเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ บุคคล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูลและข้อแนะนำเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ตามความจำเป็น

              5. ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใด ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

              8. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการมีดังนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน เลขาธิการ ก.พ. หรือผู้แทน เลขาธิการ ก.พ.ร. หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้แทน โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงการคลัง ที่ปลัดกระทรวงการคลังมอบหมาย และอธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ. และผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. กำกับดูแล และวินิจฉัยปัญหา ที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่าย ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548

              2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม

              3. ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง

              9. คณะอนุกรรมการพิจารณาพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548 ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการมีดังนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณ์สุขเขตสุขภาพที่ 1 - 13 ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด จำนวน 2 ราย ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 2 ราย ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 2 ราย ที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย และผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการและเลขานุการร่วม หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

              หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)

              1. พิจารณากำหนดพื้นที่พิเศษสำหรับค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายทั้งพื้นที่ระดับจังหวัด และระดับอำเภอตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2548

              2. ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง

              ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 13 มกราคม 2568

 

 

1249

Click Donate Support Web 

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!