สงครามการค้าผันผวนสูง เน้นหุ้นกลุ่มพื้นฐานดี/Domestic/Defensive/Dividend เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน อาทิ China Mobile, Coca-Cola, Costco, Eli Lilly, Fast Retailing, Giant Biogene, Gree Electric, Midea, Netflix, Tingyi, Walmart, Sea Limited
สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รุนแรงเป็นประวัติการณ์ หลังตอบโต้กันไปมาผ่านการขึ้นอัตราภาษีศุลกากร ซึ่งเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบมากในช่วงเปลี่ยนผ่าน 1-2 ปีแรกจากสงครามการค้า ทำให้ตลาดมองความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ สูงขึ้น และมีแนวโน้มหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจลงเพิ่มเติมทั้งในและนอกสหรัฐฯ สำหรับตลาดการเงินกลับมาให้น้ำหนักมากขึ้นที่ Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมากกว่า 2 ครั้งในปีนี้
ขณะที่ตลาดการเงินมองว่า BoJ มีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยน (JPY) กลับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว สะท้อนบทบาทสกุลเงิน Safe-Haven สอดรับกับเครื่องชี้ภาวะ Risk off อื่นๆ
ในระยะสั้นมีสัญญาณที่ดีเกิดขึ้นต่อประเทศคู่ค้า (ยกเว้นจีน) ในเรื่องสงครามการค้า หลังสหรัฐฯ ได้มีการผ่อนผันภาษีตอบโต้ 90 วัน แต่ยังต้องเฝ้าระวังอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มีการขู่จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติม อาทิ Pharmaceutical และ Semiconductor
สำหรับเป้าหมายดัชนี S&P500 ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการปรับขึ้นภาษีนำเข้าและความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย โดยในปีนี้ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงมากกว่า 20% YTD ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1990 ที่ดัชนีมีการปรับตัวลงตั้งแต่ 10% ขึ้นไป แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และปรับตัวลงอยู่ในช่วงกรอบบนของภาวะตลาดหมีในอดีต
ทั้งนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะแนวโน้มการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนและการที่สหรัฐฯ โดนโต้ตอบจากคู่ค้า รวมถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย หุ้นกลุ่มพื้นฐานดีที่เน้น Domestic / Defensive / Dividend เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต เนื่องจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่มีอยู่สูงและความเสี่ยงด้านต่ำจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ ต้องติดตามประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจลุกลามไปนอกเหนือจากภาษีทางด้านการค้า ความเสี่ยงหนี้สาธารณะชนเพดานของสหรัฐฯ รวมทั้งแผนปรับลดภาษีของสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2 “SET กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง” แนะนำหุ้นอันดับ 1 ในอุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์เห็นว่าแข็งแกร่ง และมี High Dividend Yield + Profit Growth 68-69 อย่าง SCC CPALL BDMS WHA KCE CK AP SCGP BBL
สายงานวิจัยฯ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ในกลุ่มบริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASPS ประเมินภาพในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ต้องติดตาม คือ การเปลี่ยนแปลงการเมืองโลกยุค TRUMP 2.0 เป็นเรื่องที่นักลงทุนให้น้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ เสี่ยงแพร่กระจายไปทั่วโลก (ไม่ใช่แค่จีนประเทศเดียว) โดยคาดสหรัฐจะเริ่มปรับขึ้นภาษีนำเข้าในช่วง 2Q68 เป็นต้นไป กดดัน GDP โลกปี 2025F โตต่ำกว่า 3% อย่างไรก็ตามแรงกดดันจากการตั้งกำแพงภาษีสหรัฐที่ไม่มีการตอบโต้กลับกว่า 75 ประเทศ ถูกเลื่อนออกไป 90 วัน ซึ่งอาจหนุนให้เม็ดเงินไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นในช่วงสั้นได้ ขณะที่มุมนโยบายการเงินสหรัฐฯ แม้ FED ส่งสัญญาณ Hawkish เพิ่มขึ้น แต่ในปีนี้ตลาดมองมีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 3 – 4 ครั้ง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอลง ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 68 ประเมินเบื้องต้นอาจกดดัน GDP ไทยชะลอลง ซึ่งคาดว่าตัวเลขมีโอกาสต่ำกว่า 2.0% จากหลายปัจจัยกดดันทั้งการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นในตลาดสินค้าโลก ซึ่งจะกระทบต่อภาคส่งออกไทยโดยตรง และการลงทุนทางตรงของต่างชาติที่มีความไม่แน่นอนสูง กดดันให้มูลค่า FDI/ BOI มีแนวโน้มลดลง
คุณเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม กรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว น่าจะเห็นมาตรการที่จะเข้าประคับประคองทั้งนโยบายการคลังที่มีโอกาสเห็นการปรับเพิ่มกรอบวินัยการคลัง จากหนี้สาธารณะ 70% ของ GDP ให้สูงขึ้น และนโยบายการเงิน ซึ่งน่าจะเห็น กนง.ปรับลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้ง เหลือ 1.75% ในการประชุมรอบ 30 เม.ย.68 โดยการดอกเบี้ยลง 25 BPS. ขณะที่ Downside ของ EPS 2568 ของบริษัทจดจะเบียนไทยยังมีเปิดอยู่ จากราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มขาลง และ กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ส่วนตลาดหุ้นไทยช่วง 1Q68 ย่อตัวลงมาลึกเกินไป โดย RETURN (QTD) -15% จนมี VALUATION ถูก มี PBV68F 1.0 เท่า (-2SD) ต่ำสุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก (MSCI WORLD 2.97 เท่า) และ SET มี DIVIDEND YIELD 68F สูง 4.4% (+1SD) สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และคาดหวังผลตอบแทนในระยะกลาง-ยาวได้ โดยฝ่ายวิจัยฯ ประเมินเป้าหมายดัชนีปลายปี 68 แบบอนุรักษ์นิยม (CONSERVATIVE) ภายใต้ EPS68F ที่ 89 บาทต่อหุ้น, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2% อิง MEYG 4.5% (+1 SD) ได้ดัชนีเป้าหมายปี 2568 ที่ 1424 จุด ส่วนแนวรับทางพื้นฐานภายใต้ EPS68F ที่หัก Downside จากค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบ WTI ในปีนี้ที่ถูกกว่าปีก่อนหน้าราว 10 เหรียญฯ จะเหลือ 80 บาท/หุ้น และอิง MEYG 5.8% (ระดับสูงสุดตลอดกาล) จะได้แนวรับทางพื้นฐานที่ระดับ 1026 จุด แต่ถ้าลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้ง เหลือ 1.75% จะได้แนวรับทางพื้นฐานที่ระดับ 1060 จุด
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำหุ้นอันดับ 1 อุตสาหกรรมที่นักวิเคราะห์เห็นว่าแข็งแกร่ง และมี High Dividend Yield + Profit Growth 68-69 อย่าง SCC CPALL BDMS WHA KCE CK AP SCGP BBL
เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยแม้เปิด downside มากกว่า upside เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นขาลง แต่ก็มี room ลงจำกัด คาด yield ทรงตัวไปถึงลงเล็กน้อยจนกว่าจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
ทีมผลิตภัณฑ์ตลาดรอง บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ในกลุ่มบริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์จำกัด (มหาชน) หรือ ASPS ประเมินภาพรวมการลงทุนของตลาดตราสารหนี้ไทยแม้ผันผวนมากขึ้นแต่ยังพอไปได้ โดยนักลงทุนยังมีความต้องการลงทุนเพียงแต่จะ selective buy มากยิ่งขึ้น เนื่องจากตลาดมีความกังวลจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออก 3 ราย และ การเลื่อนกำหนดชำระของผู้ออก 9 ราย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความต้องการซื้อตราสารหนี้ไทยที่มีอันดับเครดิตสูงกว่า Investment grade และ มีอายุไม่เกิน 1-3 ปี ยกเว้น Perpetual bonds ที่เป็นที่ต้องการของนักลงทุนทั่วไปอยู่แล้วถ้าบริษัทที่ออกเป็นที่รู้จักและให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 4.00-5.00% ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ทั่วไปส่วนใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า 4.00% โดยยอดคงค้างตราสารหนี้ไทย ณ. สิ้น Q1/2025 อยู่ที่ 17.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% จากปีที่แล้ว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของพันธบัตรภาครัฐ สวนทางกับยอดคงค้างของตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว หรือ หุ้นกู้ระยะยาว ที่ปรับลดลง 1.76% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลงมาอยู่ที่ 203,486 ล้านบาท
สามไตรมาสที่เหลือของปีนี้ มีมูลค่าตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวครบกำหนด 686,004 ล้านบาท โดยจะครบในช่วงไตรมาสสอง 38.17% ช่วงไตรมาสสาม 29.3% และ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ 32.53% ซึ่งจะครบกำหนดมากสุดในเดือน พฤษภาคม มิถุนายน และ กรกฏาคม โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังครองอันดับหนึ่งของการมีมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุด คือ กลุ่มพลังงาน (ENER) ซึ่ง 5 อันดับแรกของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวสูงสุด คือ กลุ่มพลังงาน (ENER) กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (PROP) กลุ่มพาณิชย์ (COMM) และ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดย 5 กลุ่มนี้มียอดคงค้างคิดเป็น 60% ของมูลค่ารวมทั้งตลาด แต่ถ้ามองในมุมของอันดับเครดิตแล้ว หุ้นกู้กลุ่มอันดับเครดิต A มีมูลค่าคงค้างสูงสุด แต่ ถ้ามองทุกอันดับเครดิตรวมกันกว่า 93% เป็นหุ้นกู้กลุ่ม Investment Grade (BBB-) ขึ้นไป
โดย คุณลัพธ์พร ปานะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ตลาดรอง คาดว่าตลาดตราสารหนี้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะมีการเคลื่อนไหวแบบลงจำกัดอย่างเสียไม่ได้ เนื่องจากการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก จากระดับ 2.00% ในปัจจุบัน ลงไปอยู่ที่ 1.50-1.75% ซึ่งโดยปกติแล้วตลาดจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อรองรับการคาดการณ์ล่วงหน้า สังเกตได้จากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุไม่เกิน 3 ปี ที่ตอนนี้อยู่ในช่วง 1.55-1.71% โดยล่าสุดตลาดคาดว่าแบงก์ชาติจะปรับลดดอกเบี้ยลงอีกในช่วงกลางปีลงไป โดยเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ณ สิ้นไตรมาสแรก มีการปรับตัวลงตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หลัง กนง ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเร็วกว่าตลาดคาดส่งผลให้ อัตราผลตอบแทนภาครัฐอายุ 2-10 ปี ปรับลง 31-35 bps มาอยู่ที่ 1.69%, 1.74% และ 1.99% ตามลำดับ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนที่แนะนำสำหรับการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ ภายใต้สภาวะตลาดที่ผันผวน เนื่องจาก ปัจจัยเสี่ยงมากมายทั้งภายในและภายนอก เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หนี้เสีย ภาวะเศรษฐกิจที่โตต่ำ และสงครามการค้าทั่วโลก จึงกดดัน yield ระยะสั้นให้โงหัวไม่ขึ้นตามการคาดการณ์การปรับตัวลงของดอกเบี้ยนโยบาย แต่อย่างไรก็ตามตลาดพร้อมดีดตัวกลับอย่างเร็วและแรงเมื่อเห็นสัญญาณ bottom out ของภาวะดอกเบี้ย จึงแนะนำให้ selective buy ตามวัตถุประสงค์การลงทุน ถ้าวัตถุประสงค์เพื่อ trading แนะให้ซื้อตราสารหนี้ภาครัฐ โดยความเสี่ยงจากการขาดทุนจะมากขึ้นตามอายุตราสาร ดังนั้น จึงแนะนำให้ trade พันธบัตรที่อายุไม่เกิน 5 ปี แต่ถ้าวัตถุประสงค์ Buy and Hold แนะให้ซื้อ Perpetual bonds หรือ หุ้นกู้ที่อันดับเครดิตสูง ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิต อย่างเช่น อาหารและเครื่องดื่ม (Food), การแพทย์ (Helth), ธุรกิจการเกษตร (Agri) เป็นต้น
“ลงทุนอย่างมั่นใจ...ในวันที่โลกไม่มีความแน่นอน”
ในวันที่โลกเต็มไปด้วยความผันผวน ราคาหุ้นเหวี่ยงแบบไร้ทิศทาง ข่าวลบถาโถม แต่ถ้านักลงทุนเข้าใจหลักการของ Regression to the Mean ว่า “ทุกความสุดโต่ง… ไม่ช้าก็จะกลับเข้าสู่สมดุล” พายุกระหน่ำวันนี้สุดท้ายก็จะผ่านไปและฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ ดังนั้นใน Q2/2025 นี้ ASP ขอแนะนำ 4 กองทุน 1.UGIS-N 2.SCBCEH 3.K-GSELECT 4.KFGDIV-A พิชิตทุกความความผันผวนและสร้างผลตอบแทนที่ดีในปีนี้
ในไตรมาส 2 ปี 2025 จากสถานการณ์ “Reciprocal” จากปธน.โดนัลล์ ทรัมป์ ซึ่งสร้างความปั่นป่วนต่อการลงทุนไปทั่วโลก ทีม Investment Advisory แนะนำ เปิดเกมรุกด้วยกลยุทธ์. “รับให้แน่น – รุกให้หนัก” เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยเน้นการกระจายความเสี่ยงอย่างรอบคอบ พร้อมคัดเลือกสินทรัพย์คุณภาพสูงเพื่อตอบรับสัญญาณเข้าสู่ช่วงปลายของวัฏจักรเศรษฐกิจ ตามมุมมองของ Fidelity Investment การปรับพอร์ตในเวลานี้จึงไม่ใช่แค่การป้องกันความเสี่ยง แต่คือโอกาสในการเสริมความแกร่งให้พอร์ตในระยะยาว
แนะนำ 4 กองทุนเด่น ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักลงทุน ได้แก่
● UGIS-N ลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลกผ่าน PIMCO GIS Income Fund – ซื้อทันที
● SCBCEH ลุยหุ้นจีนขนาดใหญ่ผ่าน Hang Seng H-Share Index ETF – ซื้อทันที
● K-GSELECT คัดหุ้น Defensive จากประเทศพัฒนาแล้ว โดยเน้นสหรัฐฯ – ทยอยสะสม
● KFGDIV-A ลงทุนในหุ้น Defensive ปันผลทั่วโลก สร้างกระแสรายได้มั่นคง – ทยอยสะสม
ธีมหลักคือ “รอบคอบแต่ไม่ถอย” เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมพอร์ตให้แข็งแรงในระยะกลางถึงยาว พร้อมสร้างสมดุลระหว่าง รายได้สม่ำเสมอและการเติบโตที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน
4463