หมวดหมู่: CHINA

เบิร์ดอายวิว


'ศ.ไป๋ ฉุน' บรรยายพิเศษเปิดมุมมองจีน : เบิร์ดอายวิว ให้ผู้สื่อข่าวไทย พร้อม เผยที่มาคำว่า'จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน'

ศาสตราจารย์ ไป๋ ฉุน (Bai Chun) อาจารย์ด้านเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ได้บรรยายหัวข้อพิเศษ'จีน : เบิร์ดอายวิว'ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในโครงการพัฒนาทักษะผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนไทย ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และศูนย์การศึกษาและฝึกอบรม สำนักสารนิเทศต่างประเทศแห่งประเทศจีน หรือ CICG

โดยมี ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ประธานหลักสูตรผู้บริหารธุรกิจไทย-จีน และที่ปรึกษาหลักสูตรผู้บริหารรุ่นใหม่ธุรกิจไทย-จีน ในฐานะหัวหน้านำคณะฯ เข้าร่วมฟังการบรรยาย เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศจีนอย่างลึกซึ้ง

ศ.ไป๋ ฉุน เริ่มต้นการบรรยายด้วยการย้อนรำลึกว่า เมื่อ 20 ปีก่อน เคยได้พบกับคณะสื่อมวลชนไทย นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเดินทางไปศึกษาดูงานที่ทิเบต ดินแดนที่ศักดิ์สิทธิ์ทางวัฒนธรรม หลังการเยือนนั้น คณะสื่อมวลชนต่างสะท้อนประสบการณ์หลากหลาย ตั้งแต่ความประทับใจในความกว้างใหญ่ของทิเบต จนถึงความท้าทายในการสื่อสารที่ต้องผ่านล่ามสองขั้นตอน

หลังจากการเดินทางกลับมา ศ.ไป๋ ฉุน ได้เขียนคอลัมน์ 'เรื่องเล่าจากปักกิ่ง' ในนามปากกา'ประชา พิสุทธิกุล'ในเนชั่นสุดสัปดาห์ แม้งานเขียนด้านการเมืองจะไม่ได้รับความนิยมเท่าบทความด้านวัฒนธรรมจีน แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีนอย่างกว้างขวาง

ศ.ไป๋ ฉุน ได้แบ่งการบรรยายออกเป็น 6 หัวข้อย่อย โดยเริ่มจาก สายน้ำและอารยธรรม อธิบายถึงความสำคัญของแม่น้ำสองสายหลัก คือ แม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) และแม่น้ำฉางเจียงซึ่งก่อให้เกิดอารยธรรมสำคัญ ได้แก่ วัฒนธรรมหยางเสา วัฒนธรรมหงซาน ราชวงศ์เซี่ย และราชวงศ์ซาง รวมถึงอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฉางเจียง เช่น วัฒนธรรมเหอหมู่ตี้และเหลี่ยงจู่

ศ.ไป๋ ฉุน ยังได้อ้างอิงคำกล่าวของ ดร.หลิน หยู่ถัง (语堂) นักปรัชญาและนักเขียนชื่อดังของจีนว่า วัฒนธรรมภาคเหนือมีลักษณะ'แข็งแกร่ง ห้าวหาญ' ขณะที่วัฒนธรรมภาคใต้มีความ ‘อ่อนโยน ละมุนละไม’โดยสะท้อนให้เห็นผ่านภาษา ดนตรี และบทกวีในแต่ละภูมิภาค

พร้อมทั้งยกตัวอย่างจากพระราชนิพนธ์ของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เรื่อง'มุ่งไกลในรอยทราย'เป็นการบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7-21 เมษายน 2533 ซึ่งสื่อถึงความรู้สึกอิสรภาพและความท้าทายของชีวิตในผืนทะเลทรายกว้างใหญ่ สอดคล้องกับบทกวีจีนโบราณ "การเดินทางหมื่นลี้ในทะเลทราย"

ศ.ไป๋ ฉุน ได้กล่าวถึงสถานการณ์ประชากรจีน ในปัจจุบันว่า ณ ปี 2567 จีนมีประชากรประมาณ 140,828,000 คน ถ้าเทียบปี 2566 ลดลง 1,390,000 ล้านคน มากเป็นอันดับ2ของโลก แต่มีการพัฒนาด้านคุณภาพประชากรอย่างต่อเนื่อง โดยการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคตะวันออกและภาคตะวันตกในยุคหนึ่ง แต่ปัจจุบันรัฐบาลจีนกำลังเร่งพัฒนาให้เกิดความเท่าเทียม

ในด้านชาติพันธุ์ จีนมี 56 กลุ่มชาติพันธุ์ โดยชนชาติฮั่น คิดเป็น 91.5% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่อีก 8.5% เป็นชนกลุ่มน้อยต่างๆ แต่การบันทึกข้อมูลประชากรระบุเพียง ‘สัญชาติจีน’ เพื่อสะท้อนแนวคิดแห่งความเป็นเอกภาพ การบรรยายยังกล่าวถึงงานของ William Clifton Dodd มิชชันนารีชาวอเมริกันที่ศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ไทในไทย และ ดร.เทียน หยงหุย (田永) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวจีนผู้มีบทบาทสำคัญในการวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ไทในจีนตะวันตกเฉียงใต้

นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนที่มาของคำว่า 中泰- หรือ "จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน"เป็นสำนวนที่ใช้สื่อถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง ประเทศจีน กับประเทศไทย ว่าใกล้ชิดกันมาก ราวกับเป็นญาติพี่น้องกัน ไม่ใช่คนแปลกหน้า เพื่อเน้นย้ำถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้น

โดยผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนว่า จากการศึกษาและได้สอบถามถึงที่มาของคำนี้จาก อู่ จื้ออู่ (吴志武) อุปทูตจีน ทราบต้นฉบับมาจาก หลวงวิจิตรวาทการ นักการเมืองและนักประพันธ์ชื่อดังของไทย มีรากฐานมาจากเพลง "จีนไทยสามัคคี"ต่อมาฝ่ายจีนได้ใช้ชื่อภาษาจีนว่า" 中泰-家" ในช่วงที่ ท่าน เติ้งเสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรีจีนในขณะนั้น มีบทบาท และในช่วงที่เดินทางไปเยือนไทยครั้งแรก เพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นเฉพาะกับประเทศไทย

โดยจีนไม่ใช้คำนี้กับประเทศอื่น เป็นการสะท้อนถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งระหว่างสองประเทศ และยังมีการบรรยายถึงการแบ่งเขตการปกครองและระบบการเมือง, เศรษฐกิจจีน, วัฒนธรรมและลัทธิประเพณี โดยไทยมีสิ่งที่คนจีนให้ค่าและนิยม อยู่ 3 เรื่อง คือ การท่องเที่ยว อาหารไทย และ Content ละครและโฆษณาไทย ที่ชวนประทับใจ เป็นต้น

ทั้งนี้ การบรรยายตลอดช่วงบ่ายเป็นไปอย่างคึกคัก ผู้เข้าร่วมอบรมต่างให้ความสนใจและสลับกันตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำถึงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับจีนในมิติต่างๆ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการสร้างสะพานแห่งมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างไทยกับจีนในอนาคต

 

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!