นุสรา กางแผนงานปี 68 ลุยครบทั้งสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ปราบปราม GI
นุสรา กางแผนลุยงานปี 68 เตรียมเพิ่มสาขานวัตกรรมสิ่งแวดล้อม จดสิทธิบัตรเร่งด่วน ยกร่างกฎหมายจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ พัฒนาแพลตฟอร์ม Flips.IP ช่วยเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตั้งทีมมอนิเตอร์ ป้องกันเครื่องหมายการค้าไทยถูกละเมิด จัดการสินค้าละเมิดออนไลน์ ออฟไลน์ต่อ ดันใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ บูม Soft Power และ GI
น.ส.นุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ในปี 2568 นี้ กรมจะดำเนินภารกิจขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ที่จะนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาเศรษฐกิจไทย
โดยจะให้ความสำคัญกับการจดสิทธิบัตร การดูแลในเรื่องลิขสิทธิ์ การปกป้องเครื่องหมายการค้าของคนไทย การป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา การขับเคลื่อน Soft Power การส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการผลักดันให้ไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (WL) ตามมาตรา 301 พิเศษของสหรัฐฯ
สำหรับ เรื่องสิทธิบัตร จะเพิ่มสาขานวัตกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำและอากาศ พลังงานสะอาด ระบบขนส่งและพาหนะไฟฟ้า สีเขียว นวัตกรรมทดแทนใช้พลาสติก การกำจัดขยะ ให้สามารถจดสิทธิบัตรแบบเร่งรัดได้เพิ่มขึ้น จากที่นำร่องการแพทย์และอาหารแห่งอนาคตไปแล้ว และจะเร่งทำ Big Data สิทธิบัตร นำเทคโนโลยี AI มาช่วยในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ค้นหา
เรื่องลิขสิทธิ์ จะยกร่างกฎหมายการจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง เพื่อให้การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์มีความโปร่งใส สะดวกแก่ผู้ใช้งาน และมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศ การจัดทำฐานข้อมูลเพลง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบดูว่าใครเป็นเจ้าของ ใครเป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ การพัฒนาแพลตฟอร์ม Flips.IP
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์เข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่อาจอยู่ในรูปแบบการระดมทุน (Invesment Token) ซึ่งได้หารือกับ ก.ล.ต.แล้ว การผลักดันให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน และจัดงาน Bangkok Music City 2025 เพื่อเป็นเวทีให้ศิลปินไทยได้แสดงความสามารถและเปิดพื้นที่เจรจาธุรกิจกับนักลงทุน
เครื่องหมายการค้า จะจัดทำโครงการ Trademark Monitor เพื่อเฝ้าระวังการนำเครื่องหมายการค้าของคนไทยไปจดทะเบียนต่างประเทศโดยไม่สุจริต โดยเฉพาะ MSME ที่มีแผนการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ และให้ความรู้ คำแนะนำ และวิธีป้องกันหากถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ
ส่วนการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จะร่วมมมือกับเจ้าของสิทธิ์ เจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับและปิดกั้นเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าละเมิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้า นักลงทุน เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และป้องกันไม่ให้สินค้าละเมิดถูกนำกลับมาจำหน่ายในท้องตลาดอีก รวมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจับกุม กวาดล้างการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
น.ส.นุสรา กล่าวว่า กรมยังจะส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ โดยการเสริมสร้างความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาเชิงรุก ผ่านศูนย์ IPAC ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ และผ่านรายการสาระบันเทิง ในรูปแบบเกมโชว์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขยายสินค้าสู่ตลาดสากล ต่อยอดสินค้าชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท และส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า 20,000 ราย
นอกจากนี้ จะผลักดัน Soft Power อาทิ การร่วมมือกับองค์การสวนสัตว์ ที่จะมุ่งพัฒนาการสร้างคาแรกเตอร์ให้กับหมูเด้ง ให้มีความแข็งแกร่ง และให้มีความยั่งยืนเหมือนคิตตี้ หรือมิกกี้เม้าส์ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าและบริการของไทย
นุสรา กางแผนงานปี 68 พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนด้วยนวัตกรรม
กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าขับเคลื่อนทรัพย์สินทางปัญญาเชิงรุก นำเทคโนโลยีมาใช้พลิกโฉมทรัพย์สินทางปัญญาไทยแบบครบวงจร สร้างมิติใหม่งานบริการประชาชนที่สะดวก รวดเร็ว เพิ่มศักยภาพ การแข่งขันทางการค้า สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ในปี 2568 นี้ กรมทรัพย์สิน ทางปัญญามุ่งมั่นดำเนินภารกิจขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ อันนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้บริการ เช่น บริการเร่งรัดสิทธิบัตรมุ่งเป้า (Target Patent Fast-Track) ในสาขานวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Innovation)
ซึ่งเป็นเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคต เพิ่มจากเดิมที่มีสาขานวัตกรรมทางการแพทย์และนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ซึ่งทำให้การจดสิทธิบัตรในสาขาดังกล่าวรวดเร็วและต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดทำ Big Data สิทธิบัตร โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ค้นหา ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการได้รับสิทธิบัตรเร็วขึ้น
นอกจากนี้ กรมฯ มีแผนลงนาม MOU พัฒนาแพลตฟอร์ม Flips.IP กับภาคเอกชน ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์เข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่อาจอยู่ในรูปแบบการระดมทุน (Investment Token) หรือใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน
นอกจากนี้ กรมฯ ยังให้ความสำคัญกับการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย โดยจัดทำโครงการ Trademark Monitor เพื่อเฝ้าระวังการนำเครื่องหมายการค้าของคนไทยไปจดทะเบียนต่างประเทศ โดยไม่สุจริต โดยเฉพาะ MSME ที่มีแผนการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ
รวมทั้งให้ความรู้ คำแนะนำ และวิธีป้องกันหากถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ ในส่วนการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต กรมฯ ร่วมมือกับเจ้าของสิทธิ์ เจ้าของแพลตฟอร์ม E-commerce และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับและปิดกั้นเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าละเมิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้า นักลงทุน เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
และป้องกันไม่ให้สินค้าละเมิดถูกนำกลับมาจำหน่ายในท้องตลาดอีก รวมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจับกุม กวาดล้างการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั่วประเทศอีกด้วย โดยมีหมุดหมายสำคัญในการเดินหน้านำพาประเทศไทยให้หลุดจากบัญชี WL
นางสาวนุสรา กล่าวว่า ในประเด็น Soft Power กรมฯ ร่วมมือกับองค์การสวนสัตว์ฯ ที่จะมุ่งพัฒนาการสร้างคาแรคเตอร์ให้กับหมูเด้ง ให้มีความแข็งแกร่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าและบริการของไทย การจัดงาน Bangkok Music City 2025 เพื่อเป็นเวทีให้ศิลปินไทยได้แสดงความสามารถและเปิดพื้นที่เจรจาธุรกิจกับนักลงทุนด้านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์
กรมฯ ยังคงเดินหน้าเสริมสร้างความรู้ ด้านทรัพย์สินทางปัญญาเชิงรุก ผ่านศูนย์ IPAC ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ และผ่านรายการสาระบันเทิง ในรูปแบบเกมโชว์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขยายสินค้าสู่ตลาดสากล ต่อยอดสินค้าชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท และส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า 20,000 ราย
ในส่วนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ขณะนี้ มี ร่าง พ.ร.บ. สิทธิบัตร ซึ่งอยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นก่อนเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และร่าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ อยู่ระหว่างเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และขณะนี้ กรมฯ อยู่ระหว่างเตรียมการยกร่างกฎหมายการจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง เพื่อตอบรับนโยบาย soft power ของรัฐบาล เพื่อให้การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์มีความโปร่งใส สะดวกแก่ผู้ใช้งาน
และมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศ การสร้างความร่วมมือและยกระดับการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาไทยในเวทีการค้าระหว่างประเทศ กรมฯ มีกำหนดลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับสำนักงานกำกับดูแลตลาดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (SAMR) เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การเจรจา FTA ในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ไทย – สหภาพยุโรป ไทย – สาธารณรัฐเกาหลี และอาเซียน – แคนาดา เป็นต้น
อีกทั้ง ขับเคลื่อนการดำเนินงาน (Work plan) ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับสหรัฐอเมริกา เพื่อผลักดัน ให้ไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามมาตรา 301 พิเศษ และระหว่างกรมทรัพย์สิน ทางปัญญากับสำนักงานทรัพย์สินอุตสาหกรรมฝรั่งเศส (INPI)
นางสาวนุสรา กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในปี 2568 กรมฯ มีการดำเนินการในหลายมิติ ทั้งงานด้านขึ้นทะเบียนสินค้า GI ที่จะขึ้นทะเบียนให้ได้อย่างน้อย 22 สินค้า โดยคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 6,000 ล้านบาท การผลักดันการขึ้นทะเบียน GI ไทยในต่างประเทศ ในประเทศญี่ปุ่น
โดยคาดว่า จะเป็นกล้วยหอมทองหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองพิษณุโลก และมะขามหวานเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น และอีกกิจกรรมไฮไลท์สำคัญ คือ การนำชุดที่ตัดด้วยผ้า GI ไทย สวมให้กับประติมากรรมแมนเนเกน พิส สัญลักษณ์ประจำเมืองบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งจะช่วยเผยแพร่อัตลักษณ์ผ้า GI ไทยให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลก
นอกจากนี้ ยังมีการผลักดันให้สินค้า GI เป็นวัตถุดิบและเป็นเมนูประจำร้านอาหารมิชลิน หรือระดับ Fine Dining การผลักดันให้สินค้า GI เสิร์ฟบนสายการบินไทย รวมทั้งร่วมมือ กับหน่วยงานพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายตลาดให้สินค้า GI ไทย สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน