หมวดหมู่: แบงก์พาณิชย์

KBank Head


KBANK Q1/68 กำไร 13,791 ล้านบาท

ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2568 กำไร 13,791 ล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2568 ขยายตัวในกรอบจำกัด แม้การส่งออกสินค้าจะขยายตัวสูงจากผลของการเร่งส่งออกก่อนการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนกลับไม่ได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่ เพราะปัญหาเชิงโครงสร้าง การแข่งขันสูง และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ

สำหรับ ในปี 2568 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่าปีก่อน โดยนอกจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวช่วงปลายเดือนมีนาคมจะมีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างแล้ว การปรับขึ้นภาษีตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐฯ ยังมีผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการ ซึ่งความตึงเครียดของสงครามการค้าจากการปรับขึ้นของภาษีตอบโต้นับเป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มาตรการของภาครัฐอาจช่วยประคองเศรษฐกิจได้เพียงบางส่วน เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศยังถูกกดดันจากฐานะทางการเงินที่เปราะบางและภาระหนี้ของภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้าผู้ฝากเงิน ผู้ลงทุน การดูแลช่วยเหลือลูกค้าในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม ทั้งการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม การให้ความร่วมมือผ่านโครงการภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถดำเนินชีวิต และธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการส่งมอบผลตอบแทนที่มั่นคงให้แก่ผู้ถือหุ้น ผ่านการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 และการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Productivity) อย่างต่อเนื่องภายใต้บริบทของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งของธนาคารได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวทางสากล โดยมีผลต่อการรับรู้ และการจัดประเภทรายการในงบการเงินเพื่อให้ข้อมูลทางการเงินสะท้อนมูลค่าทางการเงินของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

งบการเงินรวมปี 2567 ได้มีการปรับปรุงใหม่เสมือนได้นำมาตรฐานฯ ฉบับดังกล่าว มาถือปฏิบัติย้อนหลังเพื่อให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งนี้ การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวมาใช้ไม่มีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญต่องบการเงินรวมของธนาคารและบริษัทย่อย

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2568 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ปรับปรุงใหม่ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจำนวน 2,761 ล้านบาท หรือ 7.23% เป็นผลจากการเผชิญแรงกดดันของภาวะอัตราดอกเบี้ย

ประกอบกับการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิผลสูงสุดอย่างระมัดระวัง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.41% แม้ว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโตขึ้นจำนวน 1,826 ล้านบาท หรือ 15.39% จากกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน รายได้จากการลงทุน และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ

อย่างไรก็ตาม รายได้จากการดำเนินงานสุทธิลดลงจำนวน 935 ล้านบาท หรือ 1.87% โดยค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 40.84%

นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงยึดหลักความระมัดระวังอย่างรอบคอบตามที่ได้ปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอ จึงพิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จำนวน 9,818 ล้านบาท เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพียงพอ

รองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าปีก่อน และเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนสูง ทำให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารมีจำนวน 13,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.08% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 

ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2568 เปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2567 ที่ปรับปรุงใหม่ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้จากการดำเนินงานสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 397 ล้านบาท หรือ 0.81% หลักๆ จากกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน

และรายได้จากการลงทุน แม้ว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะลดลงตามภาวะตลาด นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ลดลง 2,243 ล้านบาท หรือ 10.06% ส่วนหนึ่งจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เป็นไปตามฤดูกาล

รวมทั้งการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 29,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,640 ล้านบาท หรือ 9.99% นอกจากนี้ การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นยังคงสอดคล้องกับหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,355,212 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 14,258 ล้านบาท หรือ 0.33% เมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ที่ปรับปรุงใหม่ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากเงินลงทุนสุทธิ ซึ่งเป็นการลงทุนตามการคาดการณ์ภาวะตลาดและทิศทางอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิลดลง เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

โดยธนาคารยังคงมุ่งเน้นการขยายสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ ให้ความสำคัญกับคุณภาพสินทรัพย์ และการเพิ่มผลตอบแทนที่ปรับตามความเสี่ยงให้เหมาะสม ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.19%

และค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 159.49% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.52%

 

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!